กติกาในการเล่นแบดมินตัน
กีฬาแบดมินตันมีความเป็นมาที่ชัดเจนมาก ซึ่งจากหลักฐานต่าง ๆ จะสามารถบ่งบอกที่มาของกีฬาประเภทนี้ไว้ที่หลายยุค เช่น ในจีนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 มีภาพวาดเก่า ๆ ซึ่งบ่งบอกว่ามีการใช้ขนไก่มาทำเป็นลูกขนไก่ใช้ในการเล่น ซึ่งตอนนั้นจะใช้เท้าเตะกัน 2 คนหรือจะตั้งวงกัน 3-4 คน
คริสต์ศตวรรษที่ 14 ชาวญี่ปุ่นได้มีการใช้ขนไก่ หรือขนนกเสียบผูกติดกับหัวไม้ และใช้ไม้ตีลูกขนไก่นั้น โดยไม้ที่ใช้ตีทำมาจากไม้กระดาน ตีลูกขนไก่ไปมานับว่าเป็นวิวัฒนาการในรูปลักษณ์ของการเล่นแบดมินตันที่ใกล้เคียงกับยุคปัจจุบันมากที่สุด โดยมีการใช้แร็กเกตตีลูกขนไก่แทนการใช้อวัยวะของร่างกาย
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในแถบยุโรปมีการเขียนภาพสีน้ำมันถึงการเล่นกีฬาแบดมินตันในราชสำนักต่าง ๆ
พระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดนทรงจำลองไม้แบดมินตันมาจากแร็กเกตในกีฬาเทนนิส และใช้ขนไก่หรือขนนกเสียบติดกับหัวไม้ก๊อก
เจ้าฟ้าชายเฟรดเดอริค มงกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก ทรงแบดมินตันในลักษณะเดียวกัน แต่ในตอนนั้นเรียกแบดมินตันว่า "แบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่"
คริสต์ศตวรรษที่ 18 ในเยอรมนีกษัตริย์ของปรัสเซียเฟรดเดอริคมหาราช และพระเจ้าหลานเธอเฟรดเดอริค วิลเลียมที่สอง ทรงแบดมินตันในลักษณะเดียวกัน และในประเทศอังกฤษมีเรื่องเล่าว่าในปี ค.ศ. 1870 นายทหารคนหนึ่งที่ไปประจำการอยู่ในเมืองปูนา ประเทศอินเดียได้เห็นกีฬาตีลูกขนไก่จึงนำกลับไปเล่นในอังกฤษ และในอังกฤษ ณ คฤหาสน์ “แบดมินตัน” ของยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่ตำบลกล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เกมกีฬาตีลูกขนไก่จึงถูกเรียกว่า “แบดมินตัน” ตามชื่อของสถานที่นับตั้งแต่นั้นมา
1.1.ทุกเส้นออกแตกต่างกันใส่วนของลูก จะต้องอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่งขณะที่แร็กเกตสัมผัสลูก ส่วนเอวนั้นจะพิจารณาโดยการจินตนาการจากเส้นรอบลำตัวที่ระดับซี่โครงซี่สุดท้ายของผู้ส่งลูก
1.2.สำหรับการทดลองความสูงคงที่ ทุกส่วนของลูกขนไก่ขณะที่แร็กเกตสัมผัสลูกจะต้องสูงไม่เกิน 1.10 เมตร โดยนับจากพื้นสนามขึ้นมา
1.3 ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสิร์ฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสิร์ฟไปด้วยจังหวะเดียว
1.4ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
1.5การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
2.ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
3.ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมาในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น